ฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัว
ฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัว

ฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัว

ฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัว[1] (ฝรั่งเศส: Jean-Baptiste Pallegoix) หรือที่รู้จักในนามพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์[2] เป็นบาทหลวงคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส ปฏิบัติหน้าที่มิชชันนารีในประเทศไทยในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีสมณศักดิ์เป็นประมุขมิสซังสยามตะวันออก (apostolic vicar of Eastern Siam) และมุขนายกเกียรตินามแห่งมาลลอสหรือมัลลุส (titular bishop of Mallos/Mallus) ท่านได้นำวิทยาการการถ่ายรูปเข้ามาในประเทศไทย และนอกจากนี้ท่านยังจัดทำพจนานุกรมสี่ภาษาเล่มแรกของไทยขึ้นชื่อ สัพะ พะจะนะ พาสา ไท โดยมีภาษาทั้งสี่ที่ว่านี้คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาละติน

ฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัว

ก่อนหน้า ฌ็อง-ปอล-อีแลร์-มีแชล กูร์เวอซี
ที่อยู่ สำนักมิสซังสยาม
เกิด 24 ตุลาคม ค.ศ. 1805
โกต-ดอร์ ประเทศฝรั่งเศส
ถัดไป โอกุสแต็ง-โฌแซ็ฟ ดูว์ป็อง
เสียชีวิต 18 มิถุนายน พ.ศ. 1862 (56 ปี)
กรุงเทพมหานคร สยาม
ศาสนา คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก
สัญชาติ ฝรั่งเศส

ใกล้เคียง

ฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัว ฌ็อง-บาติสต์ ลูว์ลี ฌ็อง-บาติสต์-ซีเมอง ชาร์แด็ง ฌ็อง-บาติสต์ บีโย ฌ็อง-บาติสต์ เดอ ลา ซาล ฌ็อง-บาติสต์ กอลแบร์ ฌ็อง-บาติสต์ เกลแบร์ ฌ็อง-บาติสต์ ฌูร์ด็อง ฌ็อง-บาติสต์ แบซีแยร์ ฌ็อง-บาติสต์ กอลแบร์ มาร์ควิสแห่งแซเญอแล